RSS

กระเป๋าเชือกร่มลายผัดแ่ว่น ,หลุยส์

วิ๊ทำการถักกระเป๋าลายต่าง ๆมีวิธีการดังนี้ สนใจติตต่อได้ที่ 0892785255



 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2012 นิ้ว Uncategorized

 

ถักกระเป๋าเชือกร่ม ลาย เม็ดข้าวโพด

กระเป๋าถักลายเมล็ดข้าวโพด (สนใจติิต่อที่ 0892785255



กระเป๋าถักลาย

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2012 นิ้ว พันทองถักทอ

 

การถักกระเป๋า

รูปภาพกระเป๋าถักจาก เซือกร่ม
กระเป๋าแตงโม



กระเป๋า

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 13, 2012 นิ้ว พันทองถักทอ, Uncategorized

 

ลีลาศ

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 2, 2011 นิ้ว เต้นรำ - ลีลาศ

 

ระบบประสาท

 

การรักษาอุณหภูมิของสิ่งมีชีวิต

การรักษาดุลยภาพอุณหภูมิในร่างกาย

การหอบของสัตว์ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะมีอุณหภูมิในร่างกายไม่เท่ากัน การจำแนกสัตว์โดยอาศัยอุณหภูมิของร่างกายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สัตว์เลือดอุ่น และสัตว์เลือดเย็น

สัตว์เลือดอุ่น คือ สัตว์ที่มีอุณหภูมิของร่างกายอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ อุณหภูมิของร่างกายจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพแวดล้อม แม้ว่าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงมากเท่าใดก็ตาม ได้แก่ สัตว์จำพวกนก

สัตว์เลือดเย็น คือ สัตว์ที่มีอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิในร่างกายจึงอยู่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

สัตว์มีกลไกในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย คือ
1. โครงสร้างของร่างกาย เช่น สัตว์ที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนยาวกว่าสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อน
2. กลไกทางสรีรวิทยา ไฮโปทาลามัส (HYPOTHALAMUS) จะไวต่ออากาศหนาว
เมื่อได้รับการกระตุ้น ไฮโปทาลามัสจะไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
– ทำให้เส้นเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงผิวหนังหดตัว ทำให้เลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังลดปริมาณลง ร่างกายจะสูญเสียความร้อนน้อยลง
– กระตุ้นเส้นประสาทควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อโคนขนทำให้ขนลุกชัน และกล้ามเนื้อให้หดตัวจนเกิดอาการสั่น
– กระตุ้นให้ต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นปฏิกิริยาการสลายอาหารให้ปล่อยพลังงานออกมาเพิ่ม เพื่อชดเชยความร้อนที่ร่างกายสูญเสียไป

สัตว์ อุณหภูมิปกติของร่างกาย

(องศาเซลเซียส)
อุณหภูมิของแหล่งที่อยู่

(องศาเซลเซียส)

นกกระจอก 42.0+-0.1 4 ถึง 25
นกแพนกวิน 39.0+-0.5 0 ถึง 10
เป็ด 43.0+-0.4 4 ถึง 25
วาฬ 35.5+-0.3 ไม่ต่ำกว่า 4
หนู 40.0+-0.6 4 ถึง 25
คน 37.0+-0.6 ช่วงกว้าง
ม้า 38.0+-0.2 ช่วงกว้าง
สุนัข 39.0+-1.1 4 ถึง 25
ช้าง 36.0+-0.7 อาจสูงเกิน 43
อูฐ 37.6+-0.4 อาจสูงเกิน 43
แมว 39.0+-0.9 4 ถึง 25
หมีขาว 37.6+-0.3 -34 ถึง 1
หมี 38.5+-0.5 -7 ถึง 21

จากตาราง จะเห็นว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์จำพวกนก ซึ่งเป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ไว้ได้เกือบคงที่ ในขณะที่อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ส่วนสัตว์เลือดเย็นมีอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ตามของสภาพแวดล้อม แต่มีขีดจำกัดในช่วงอุณหภูมิหนึ่งเท่านั้น

แม้ว่าสัตว์เลือดอุ่นจะสามารถรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายไว้ได้ค่อนข้างคงที่ในขณะที่อุณหภูมิภายนอกเปลี่ยนแปลงไปนั้น ไม่ได้หมายความว่าอุณหภูมิภายนอกจะไม่มีผลกระทบต่อสัตว์เลือดอุ่น ในสภาวะอากาศที่หนาวเย็นหรืออุณหภูมิภายนอกต่ำกว่าอุณหภูมิในร่างกาย จะมีการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนไฮโพทาลามัส ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดที่นำเลือดมาที่ผิวหนังมีขนาดเล็กลง เมื่อหลอดเลือดมีขนาดเล็กลงเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังก็จะมีปริมาณลดลง ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนน้อยลง ไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อโคนขน ทำให้ขนลุกชัน ถ้าอากาศหนาวเย็นมากกล้ามเนื้อต่างๆ จะหดตัวจนเกิดอาการสั่นได้ในทางตรงกันข้ามเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิ เท่ากับหรือสูงกว่าอุณหภูมิในร่างกาย ความร้อนจากร่างกายไม่สามารถถ่ายเทให้กับสิ่งแวดล้อมได้ ในสภาวะเช่นนี้ ไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นต่อมเหงื่อที่อยู่ทั่วไปตามผิวหนังให้ขับเหงื่อออกมา และทำให้หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกายให้มีอุณหภูมิลดลงสู่ภาวะปกติ

สัตว์มีกลไกในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย คือ
1. โครงสร้างของร่างกาย เช่น สัตว์ที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนยาวกว่าสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อน
2. กลไกทางสรีรวิทยา ไฮโปทาลามัส (HYPOTHALAMUS) จะไวต่ออากาศหนาว
เมื่อได้รับการกระตุ้น ไฮโปทาลามัสจะไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
– ทำให้เส้นเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงผิวหนังหดตัว ทำให้เลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังลดปริมาณลง ร่างกายจะสูญเสียความร้อนน้อยลง
– กระตุ้นเส้นประสาทควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อโคนขนทำให้ขนลุกชัน และกล้ามเนื้อให้หดตัวจนเกิดอาการสั่น
– กระตุ้นให้ต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นปฏิกิริยาการสลายอาหารให้ปล่อยพลังงานออกมาเพิ่ม เพื่อชดเชยความร้อนที่ร่างกายสูญเสียไป

เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปมากๆ สัตว์ทั้งหลายจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและแสดงพฤติกรรมออกมาโดย

-การเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่เพื่อที่จะอาศัยอยู่ได้อย่างเหมาะสม เช่นการแช่อยู่ในปลักหรือในน้ำของควาย หารขุดรูอยู่ในโพรงไม้ การอาศัยอยู่ในถ้ำของสัตว์จำพวกหมี

-การเลือกเวลาออกมาหากิน สัตว์ในทะเลทรายมักจะออกหากินในเวลากลางคืน เนื่องจากอุณหภูมิต่ำกว่าช่วงเวลากลางวัน

-การจำศีล เป็นสภาพที่สัตว์บางชนิดซ่อนตัวนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมระยะนี้อัตรา เมแทบอลิซึมของสัตว์จะลดลงอัตราเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจจะลดลงมีการเผาผลาญอาหารที่สะสมไว้อย่างช้าๆ

 

การทำงานระบบประสาท

ระบบประสาท (nervous system)

ร่างกายของมนุษย์และสัตว์มีอวัยวะต่าง ๆ
ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบ และทุกระบบ
จะถูกควบคุม โดยระบบประสาทกับ ระบบต่อมไร้ท่อ
(ฮอร์โมน) การทำงานร่วมกันของสองระบบนี้เรียกว่า
ระบบประสานงาน (coordinating system) เพื่อการรับรู้
และตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่
หลากหลาย รวมทั้งการสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต
นำไปสู่ความสมดุลของร่างกาย ทำให้ชีวิตอยู่รอด
สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึง
กลไกการทำงานของระบบประสาท และ
อวัยวะรับความรู้สึก

ระบบประสาทส่วนกลาง

(CNS : central nervous system)

ประกอบด้วยสมอง (brain) เชื่อมต่อกับไขสันหลัง
เนื้อสมองและไขสันหลังมีตัวเซลล์ ใยประสาท และ
เซลล์ค้ำจุน ในเนื้อสมองและไขสันหลังมีโพรงติดต่อกัน
สมองและไขสันหลัง ถูกหุ้มด้วยเยื่อ 3 ชั้น ชั้นนอกสุด
หนาเหนียว ชั้นกลางเป็นเยื่อบาง ชั้นในสุดแนบสนิท
กับสมองและไขสันหลัง ระหว่างเยื่อหุ้มสมองกับ
กระโหลกศรีษะและกระดูกสันหลังมีช่องติดต่อกัน
ตลอดแนว ช่องนี้มีน้ำเลี้ยงบรรจุอยู่ พร้อมมีหลอดเลือด
แทรกอยู่บริเวณเยื่อชั้นในจำนวนมาก หลอดเลือดและ
น้ำเลี้ยงสมองได้นำอาหาร และออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง
และนำของเสียออกจากบริเวณนี้ ด้านนอกสุดหุ้มด้วย
กระโหลกศรีษะและกระดูกสันหลัง

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 13, 2011 นิ้ว ระบบประสาท

 

พันธุกรรม8

 

พันธกรรม 2

 

ดาวชินโดม